อุณหภูมิ



อุณหภูมิของก๊าซอุดมคติอะตอมเดี่ยวสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยพลังงานจลน์ของอะตอม
อุณหภูมิ คือการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสสารใดๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น
ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามกาประเทศไทย

บายเชิงจุลภาคทางฟิสิกส์เชิงสถิติ อุณหพลศาสตร์นั้นเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก ซึ่งกำหนดขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่างๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนฟิสิกส์สถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่างๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค
ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละองศาอิสระในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก๊ส

ความร้อน และ อุณหภูมิ

          สสารทั้งหลายประกอบด้วย อะตอมรวมตัวกันเป็นโมเลกุล การเคลื่อนที่ของอะตอม หรือการสั่นของโมเลกุล ทำให้เกิดรูปแบบของพลังงานจลน์ ซึ่งเรียกว่า “ความร้อน” (Heat) เราพิจารณาพลังงานความร้อน (Heat energy) จากพลังงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของอะตอมหรือโมเลกุลทั้งหมดของสสาร 
          อุณหภูมิ (Temperature) หมายถึง การวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ซึ่งเกิดขึ้นจากอะตอมแต่ละตัว หรือแต่ละโมเลกุลของสสาร เมื่อเราใส่พลังงานความร้อนให้กับสสาร อะตอมของมันจะเคลื่อนที่เร็วขึ้น ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น แต่เมื่อเราลดพลังงานความร้อน อะตอมของสสารจะเคลื่อนที่ช้าลง ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง 
          หากเราต้มน้ำด้วยถ้วยและหม้อบนเตาเดียวกัน จะเห็นได้ว่าน้ำในถ้วยจะมีอุณหภูมิสูงกว่า แต่จะมีพลังงานความร้อนน้อยกว่าในหม้อ เนื่องจากปริมาณความร้อนขึ้นอยู่กับมวลทั้งหมดของสสาร แต่อุณหภูมิเป็นเพียงค่าเฉลี่ยของพลังงานในแต่ละอะตอม ดังนั้นบรรยากาศชั้นบนของโลก (ชั้นเทอร์โมสเฟียร์) จึงมีอุณหภูมิสูง แต่มีพลังงานความร้อนน้อย เนื่องจากมีมวลอากาศอยู่อย่างเบาบาง
สเกลอุณหภูมิ
           องศาฟาเรนไฮต
           ในปี ค.ศ.1714 กาเบรียล ฟาเรนไฮต์ (Gabrial Fahrenheit) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เทอร์มอมิเตอร์ซึ่งบรรจุปรอทไว้ในหลอดแก้ว เขาพยายามทำให้ปรอทลดต่ำสุด (0°F) โดยใช้น้ำแข็งและเกลือผสมน้ำ เขาพิจารณาจุดหลอมละลายของน้ำแข็งเท่ากับ 32°F และจุดเดือดของน้ำเท่ากับ 212°F
           องศาเซลเซียส
            ในปี ค.ศ.1742 แอนเดอส์ เซลเซียส (Anders Celsius) นักดาราศาสตร์ชาวสวีเดน ได้ออกแบบสเกลเทอร์มอมิเตอร์ให้อ่านได้ง่ายขึ้น โดยมีจุดหลอมละลายของน้ำแข็งเท่ากับ 0°C และจุดเดือดของน้ำเท่ากับ 100°C
           เคลวิน (องศาสัมบูรณ์) 
           ต่อมาในคริสศตวรรษที่ 19 ลอร์ด เคลวิน (Lord Kelvin) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ผู้ค้นพบความ
สัมพันธ์ระหว่างความร้อนและอุณหภูมิว่า ณ อุณหภูมิ -273°C อะตอมของสสารจะไม่มีการเคลื่อนที่ และ
จะไม่มีสิ่งใดหนาวเย็นไปกว่านี้ได้อีก เขาจึงกำหนดให้ 0 K = -273°C (ไม่ต้องใช้เครื่องหมาย ° กำกับ
หน้าอักษร K) สเกลองศาสัมบูรณ์หรือเคลวิน เช่นเดียวกับองศาเซลเซียสทุกประการ เพียงแต่ +273 
เข้าไปเมื่อต้องการเปลี่ยนเคลวินเป็นเซลเซียส
            องศาโรเมอร์ (อังกฤษRéaumur scale/degree; ย่อ:°Ré, °Re, °R) คือหน่วยวัดอุณหภูมิที่คิดค้น                      ขึ้นโดย เรอเน่ อังตวน เฟโชต์ เดอ โรเมอร์ (René Antoine Ferchault de Réaumur) นักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1731 โดยกำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำอยู่ที่ 0 องศาโรเมอร์ และจุดเดือดของน้ำอยู่ที่ 80 องศาโรเมอร์ ดังนั้นช่วงอุณหภูมิ 1 องศาโรเมอร์จะเท่ากับ 1.25 องศาเซลเซียสหรือเคลวิน
เทอร์โมมิเตอร์ของโรเมอร์นั้นจะบรรจุแอลกอฮอล์เจือจางและมีหลักการคือกำหนดให้อุณหภูมิจุดเยือกแข็งของน้ำอยู่ที่ 0 องศา และขยายตัวไปตามท่อเป็นทีละองศาซึ่งคือเศษหนึ่งส่วนพันของปริมาตรที่บรรจุไว้ในกระเปาะของหลอด ณ จุดศูนย์องศา เขาเสนอว่าคุณภาพของแอลกอฮอล์ที่ใช้นั้นจะต้องเริ่มเดือดที่ 80 องศาโรเมอร์ นั่นคือ เมื่อปริมาตรแอลกอฮอล์ได้ขยายตัวไป 8% โรเมอร์เลือกแอลกอฮอล์แทนที่จะใช้ปรอทเพราะขณะที่ขยายตัวจะเห็นได้ชัดเจนกว่า แต่ปัญหาที่พบคือ เทอร์โมมิเตอร์รุ่นดั้งเดิมของเขานั้นดูเทอะทะ และจุดเดือดที่ต่ำของแอลกอฮอล์ก็ไม่ค่อยมีประโยชน์ในการใช้งานจริงเท่าใดนัก ผู้ผลิตอุปกรณ์มักจะหันไปเลือกใช้ของเหลวชนิดอื่น แล้วใช้อุณหภูมิ 80 องศาโรเมอร์เพื่อระบุจุดเดือดของน้ำแทน ซึ่งสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้งาน
สูตรการแปลงอุณหภูมิองศาโรเมอร์
จากโรเมอร์เป็นโรเมอร์
องศาเซลเซียส[°C] = [°Ré] × 54[°Ré] = [°C] × 45
องศาฟาเรนไฮต์[°F] = [°Ré] × 94 + 32[°Ré] = ([°F] − 32) × 49
เคลวิน[K] = [°Ré] × 54 + 273.15[°Ré] = ([K] − 273.15) × 45
แรงคิน[°R] = [°Ré] × 94 + 491.67[°Ré] = ([°R] − 491.67) × 49

ตารางเปรียบเทียบหน่วยวัดอุณหภูมิ

ตารางเปรียบเทียบหน่วยวัดอุณหภูมิ
รายการ[หมายเหตุ 1]เคลวินเซลเซียสฟาเรนไฮต์แรงคินเดลิเซิลนิวตันโรเมอร์เรอเมอร์
ศูนย์สัมบูรณ์0.00−273.15−459.670.00559.73−90.14−218.52−135.90
อุณหภูมิพื้นผิวต่ำสุดที่มีการบันทึกบนโลก
(วอสต็อก, แอนตาร์กติกา - 21 ก.ค. 1983)
184−89−128331284−29−71−39
สารผสมระหว่างน้ำแข็ง/เกลือ ฟาเรนไฮต์255.37−17.780.00459.67176.67−5.87−14.22−1.83
น้ำแข็งละลาย (ณ ความดันมาตรฐาน)273.150.0032.00491.67150.000.000.007.50
จุดไตรสมดุลของน้ำ273.160.0132.018491.688149.9850.00330.0087.50525
อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยโลก288155951912851215
อุณหภูมิร่างกายมนุษย์เฉลี่ย[หมายเหตุ 2][2]310379855895122927
อุณหภูมิพื้นผิวสูงสุดที่มีการบันทึกบนโลก
(อซิซิญ่า, ลิเบีย - 13 ก.ย. 1922)
แต่ยังคงไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการ
3315813659663194638
น้ำเดือด (ณ ความดันมาตรฐาน)373.15100.00211.97671.640.0033.0080.0060.00
ไททาเนียมละลาย1941166830343494−23525501334883
พื้นผิวดวงอาทิตย์58005500990010400−8100180044002900
หมายเหตุ:
  1. กระโดดขึ้น ตัวเลขในตารางนี้มีการปัดเศษทศนิยม
  2. กระโดดขึ้น อุณหภูมิร่างกายมนุษย์ปกติอยู่ที่ 36.8 °C ±0.7 °C, หรือ 98.2 °F ±1.3 °F ตัวเลขที่มักระบุว่า 98.6 °F นั้นเป็นการคำนวณแปลงหน่วยค่าจากอุณหภูมิมาตรฐานเยอรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่ 37 °C เนื่องจากไม่ได้มีช่วงค่าบวกลบที่รับได้ จึงไม่สามารถระบุค่าความคลาดเคลื่อนได้

พบจุดหนาวสุดในโลกแห่งใหม่ติดลบ136องศา

นักวิทยาศาสตร์ประกาศให้เทือกเขาสูงในแอนตาร์กติกา เป็นเขตพื้นที่หนาวที่สุดในโลกแห่งใหม่ ทีมนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ ในรัฐโคโลราโด เปิดเผยจุดที่หนาวที่สุดแห่งใหม่ในโลกออกมาแล้ว....... อ่านต่อได้ที่https://www.posttoday.com/world/news/264012 

BTU คืออะไร
BTU นั้นหลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ่อยๆเกี่ยวกับแอร์ แต่บางคนก็อาจจะยังสงใสว่ามันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะมารู้จัก BTU กันซะหน่อยนะครับ
BTU ย่อมาจาก British Thermal Unit เป็นหน่วยที่ใช้ปริมาณความร้อนที่ใช้ในระบบเครื่องเย็นและเครื่องปรับอากาศ โดยความร้อน 1 BTU คือ ปริมาณความร้อนที่มำให้น้ำ 1 ปอนด์ (0.45 กิโลกรัม) มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ (0.56 องศาเซลเซียส)
หน่วยที่นิยมใช้สำหรับหาปริมาณความร้อน ของระบบเครื่องทำความเย็นนั้นคือ ตัน (TON) คำว่า "1 ตันความเย็น" นั้นหมายถึงปริมาณความร้อนที่ใช้ในการละลายน้ำแข็ง 1 ตัน (2,000 ปอนด์) ในเวลา 24 ชม. หรือเท่ากับ 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง
one ton of ice
ซึ่งสำหรับเครื่องปรับอากาศนั้นจะวัด กำลังความเย็นหรือความสามารถในการดึงความร้อน (ถ่ายเทความร้อน) ออกจากห้องปรับอากาศในหน่วย บีทียูต่อชั่วโมง (BTU/hr) ซึ่งเทียบเท่ากับหน่วนวัตต์ในระบบสากล
ตารางเปรียบเทียบการทำความเย็นระหว่างหน่วยตัน (Ton) กับบีทียู (BTU)
TONBTU
112,000
1.518,000
224,000
2.530,000
336,000







เพิ่มเติมอีกหน่อยนะครับสำหรับบางคนที่อาจจะเคยเห็นว่า BTU, BTUH และ BTU/H นั้นต่างกันอย่างไร
BTU เป็นปริมาณความร้อนเท่านั้นครับ คงเปรียบเทียบง่ายๆ คงเหมือนกับปริมาณน้ำ
BTU/H และ BTUH นั้นเหมือน อัตราการทำความเย็นครับ เปรียบเทียบง่ายๆ คงเหมือนกับอัตราการไหลของน้ำนั่นเอง

การทำความเย็นเบื้องต้น




การทำความเย็น เป็นการถ่ายเทความร้อนออกจากบริเวณที่ต้องการทำความเย็น เพื่อที่จะให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลงหรือให้เย็นลงตามที่เราต้องการ การทำความเย็นจึงไม่ใช้เป็นการทำลายความร้อน แต่เป็นการถ่ายเท หรือนำพาความร้อนออกไปนั่นเอง

หลักการทำความเย็นเบื้องต้น เปรียบง่ายๆก็เหมือนกับการที่เราไปวิ่งหรือออกกำลังกายจนมีเหงื่อออกเปียกชุ่ม เมื่อเรานั่งพักเราจะรู้สึกว่าร่างกายเย็นขึ้น เป็นผลมาจากของเหลวที่ร่างกายขับออกมาในรูปแบบเหงื่อเกิดการระเหยไปกับอากาศที่มะปะทะตัวเรา การระเหยของเหงื่อ ได้นำพาเอาความร้อนออกจากตัวเราไปด้วย หลักการทำความเย็นในเครื่องทำความเย็น และเครื่องปรับอากาศ ก็เปรียบได้เช่นเดียวกันนี้

การถ่ายเทความร้อนของร่างกายเรา จำเป็นต้องอาศัยตัวกลางในการถ่ายเทความร้อย ซึ่งนั่นก็คือของเหลวอย่างเหงื่อ มาเป็นตัวกลางในการช่วยนำพาความร้อน
ในเครื่องทำความเย็นก็เช่นกัน จำเป็นต้องอาศัยตัวกลางมาเป็นตัวช่วยนำพาความร้อน จากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง โดยที่ตัวกลางในระบบเครื่องทำความเย็น จะใช้สารทำความเย็น (Refrigerant) หรือที่นิยมเรียกกันว่า “น้ำยา” มาเป็นตัวกลางในการถ่ายเทหรือนำพาความร้อน


สารทำความเย็น ในปัจจุบัน มีการผลิตขึ้นมาหลากหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิด ก็ได้ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในระบบเครื่องทำความเย็นแบบต่างๆ แต่เดิมในอดีต สารทำความเย็น มีชื่อเรียกที่หลากหลาย ตามแต่ผู้ผลิตจะกำหนด โดยจะแบ่งออกหลักได้ 3 กลุ่ม 

1. กลุ่ม ฟรีออน (Freon) F-12,F-22 
2. กลุ่ม (Genetron) G-12,G-22  
3. กลุ่ม (Keiser) K-12,K-22 

ชื่อชนิดสารทำความเย็นที่หลากหลายเหล่านี้ ก่อให้เกิดความสับสนตามมา ส่งผลให้ สมาคมเครื่องเย็นแห่งสหรัฐอเมริกา (ASHRAE) ประกาศข้อตกลงอันเป็นมาตรฐานสากล กำหนดให้ใช้อักษร R ที่ย่อมาจากคำว่า Refrigerant แปลว่า สารทำความเย็น เป็นอักษรกำกับนำหน้าสารทำความเย็น โดยยังคงใช้เบอร์ของสารทำความเย็นตามเดิม จึงกลายเป็น R-12,R-22 ที่เราคุ้นหูกันอยู่ในทุกวันนี้ แต่ในบางตำราหรือเอกสารทางวิชาการแบบเก่าๆ เราอาจจะยังคงพบเห็นการใช้คำว่า Freon “F” อยู่บ้าง

สารทำความเย็นที่ใช้ในเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศสามารถจำแนกได้เป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ

- สารทำความเย็นภายในตู้เย็น,ตู้แช่ ใช้สารทำความเย็น R-12 แต่ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นสารทำความเย็นเบอร์ใหม่ เพื่อนำมาทดแทนสารทำความเย็น R-12 อันเนื่องมาจาก สารทำความเย็น R-12 มีสารที่ทำให้เกิดปัญหาสภาวะเรือนกระจกเป็นองค์ประกอบ จึงมีการคิดค้นสารทำความเย็นเบอร์ R-134a ขึ้นมาทดแทน ตามกระแสตื่นตัวรักโลก ดังนั้น ตู้เย็น,ตู้แช่,ตู้น้ำเย็น ที่ผลิตขึ้นในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้เป็นระบบ R-134a แต่ในส่วนสารทำความเย็น R-12 ปัจจุบันก็ยังมีการผลิตอยู่บางส่วน เพื่อรองรับงานซ่อมบำรุงในรายที่ใช้ระบบของ R-12

- สารทำความเย็นภายในเครื่องปรับอากาศ ใช้สารทำความเย็น R-22 แต่ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นสารทำความเย็นเบอร์ใหม่ เพื่อนำมาทดแทนสารทำความเย็น R-22 อันเนื่องมาจาก สารทำความเย็น R-22 มีสารที่ทำให้เกิดปัญหาสภาวะเรือนกระจกเป็นองค์ประกอบ จึงมีการคิดค้นสารทำความเย็นเบอร์ R-410a ขึ้นมาทดแทน ตามกระแสตื่นตัวรักโลกอีกเช่นกัน แต่ในส่วนของเครื่องปรับอากาศ ปัจจุบันยังคงนิยมใช้ R-22 อยู่ ซึ่งสารทำความเย็นชนิดใหม่ R-410a ในขณะนี้ยังคงไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก อันเนื่องมาจากยังคงมีราคาสูงและกระบวนการขั้นตอนค่อนช้างยุ่งยาก การนำมาใช้งานในปัจจุบัน R-410a ส่วนใหญ่จะเห็นได้ว่าการนำไปใช้ในเครื่องปรับอากาศ จะนำมาใช้ในรุ่นท็อปของแต่ละยี่ห้อ เช่นในรุ่น Inverter



การหมุนเวียนในระบบการทำความเย็น

การเกิดความเย็นในระบบเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ เริ่มจากการนำสารทำความเย็นมาทำการอัดด้วยเครื่องอัดสารทำความเย็น (Compressor) สารทำความเย็นจะถูกอัดออกมาในรูปแบบแก๊สแรงดันสูงมีอุณหภูมิสูง ไหลตามท่อไปเข้าสู่ เครื่องควบแน่น (Condenser) แก๊สแรงดันสูงมีอุณหภูมิสูง เมื่อไหลเข้ามาสู่เครื่องควบแน่นที่ขดไปขดมา และถูกระบายความร้อนออกระหว่างที่ไหลในเครื่องควบแน่น สารทำความเย็นที่ออกจากเครื่องควบแน่น เมื่อถูกดึงความร้อนออกส่วนหนึ่ง ก็จะเปลี่ยนสถานะเป็น ของเหลว แต่ยังคงมีแรงดันสูงมีอุณหภูมิสูง จากนั้นของเหลวแรงดันสูงอุณหภูมิสูง ก็จะวิ่งตามท่อทางอัด ไปเข้าสู่อุปกรณ์ควบคุมน้ำยา (Refrigerant Control) เมื่อสารทำความเย็นที่เป็นของเหลวแรงดันสูงอุณหภูมิสูง ผ่านเข้าอุปกรณ์ควบคุมน้ำยา จะถูกลดแรงดันลง แล้วไหลเข้าไปยังคอยล์เย็น(Evaporator) ในจังหวะที่ของเหลวแรงดันสูงอุณหภูมิสูง ถูกลดแรงดันลงอย่างรวดเร็ว ก็จะเกิดการระเหยกลายเป็นไอ การระเหยที่เกิดขึ้นในคอยล์เย็น จะดึงเอาความร้อนรอบๆบริเวณนั้น มาช่วยให้การระเหยทำได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อความร้อนในบริเวณนั้น ถูกดึงมาช่วยในการระเหยของสารทำความเย็น ทำให้อุณหภูมิในห้องเย็นลง สารทำความเย็นที่ออกจากคอยล์เย็น จะอยู่ในรูปแบบของแก็สแรงดันต่ำอุณหภูมิต่ำ ไหลกลับสู่ท่อทางดูดไปเข้าคอมเพรสเซอร์ เพื่อทำการอัดเข้าสู่ระบบต่อไป อีกทั้งความเย็นจากสารทำความเย็นที่ดูดกลับมา บางส่วนยังนำมาช่วยระบายความร้อนให้กับคอมเพรสเซอร์ได้อีกด้วย




ความรู้เกี่ยวกับการทำความเย็น



อุณหภูมิ มี
หน่วยวัดในระบบเอสไอ คือ เคลวิน (kelvin) 
แต่ที่เราใช้จะเป็นหน่วย องศาเซลเซียส (Celsius) สำหรับการวัดอุณหภูมิในระบบเมตริก 
องศาเซลเซียสเทียบกับองศาฟาเรนไฮต์ได้ดังนี้

องศาเซลเซียส = (F-32)/1.8

องศาฟาเรนไฮต์ = (1.8C)+32

C คือ องศาเซลเซียส
F คือ องศาฟาเรนไฮต์

อุณหภูมิสัมบูรณ์(absolute temperature) คืออุณหภูมิที่นับจากอุณหภูมิศูนย์สัมบูรณ์ขึ้นมา เช่น องศาเคลวิน(K) เริ่มจากศูนย์สัมบูรณ์ที่อุณหภูมิ -273.15 องศาเซลเซียส
K = C+273
ระบบอังกฤษ อุณหภูมิสัมบูรณ์ คือ องศาเคลวิน(Rankine,R)
R = F+460 
อุณหภูมิกระเปาะแห้งและกระเปาะเปียก (DRY BULB AND WET BULE) 
อุณหภูมิกระเปาะแห้งวัดด้วยเทอร์โมมิเตอร์ธรรมดา เช่นที่บรรจุด้วยปรอท ส่วนอุณหภูมิกระเปาะเปียกวัดด้วยเทอร์โมมิเตอร์ซึ่งกระเปาะมีผ้าหุ้มจุ่มน้ำ ความชื้นที่ผ้าจะระเหยซึ่งมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความชื้นของอากาศ ถ้าระเหยมากหมายความถึงอากาศมีความชื้นน้อย อุณหภูมิก็จะลดลงได้น้อย

อุณหภูมิอิ่มตัวอุณหภูมิอิ่มตัวคืออุณหภูมิที่ของเหลวจะเปลี่ยนเป็นไอ นั่นคืออุณหภูมิที่จุดเดือด ทั้งนี้เป็นอุณหภูมิเดียวกันกับอุณหภูมิที่ไอกลั่นตัวเป็นของเหลว
ความร้อน เป็นพลังงานรูปหนึ่ง หน่วยที่ใช้วัดมีหลายหน่วย เช่น บีทียู , กิโลแคลลอรี , จูล , เป็นต้น
ความร้อน 1 บีทียู คือปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์ มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮต์
ความร้อน 1 กิโลแคลลอรี คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 กิโลกรัม มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาเซลเซียส
1 Kcal = 3.97 BTU

ชนิดของความร้อน
ความร้อนสัมผัส เป็นความร้อนที่สัมผัสได้ ซึ่งไปเพิ่มหรือลดอุณหภูมิ โดยวัดได้ด้วยเทอร์โมมิเตอร์ 
ความร้อนแฝง เป็นความร้อนที่เปลี่ยนสถานะของสสาร ถ้าวัดด้วยเทอร์โมมิเตอร์จะไม่พบการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ 
ความร้อนยวดยิ่ง เป็นความร้อนที่ให้กับสสารหลังจากสสารนั้นระเหยแล้ว อุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าอุณหภูมิอิ่มตัว คืออุณหภูมิซุปเปอร์ฮีต
ความร้อนจำเพาะ (SPECIFIC HEAT) คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้สสารมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 หน่วย เช่น สสารหนัก 1 ปอนด์ มีอุณหภูมอเพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 F ความร้อนที่ต้องใช้จะมีค่าตัวเลขเท่ากับค่าความร้อนจำเพาะนั้น เช่น น้ำยา R-22 มีค่าความร้อนจำเพาะ 0.26 บีทียูต่อปอนด์ต่อองศาฟาเรนไฮต์
สสารที่มีความร้อนจำเพาะน้อย ต้องการปริมาณความร้อนน้อยในการเพิ่มอุณหภูมิและจะเย็นได้เร็วดังเช่น น้ำและทองแดง ความร้อนจำเพาะในหน่วย Kcal/kg-C มีค่า 1 และ 0.99 ตามลำดับ ดังนั้นถ้าให้ความร้อนกับน้ำ และทองแดงเท่าๆ กัน จะพบว่าทองแดงจะร้อนมากกว่า และเมื่อหยุดทองแดงจะเย็นเร็วกว่า
สถานะของสสาร
สถานะของสสารมีของแข็งของเหลวและก๊าซ 
ตัวอย่างเช่น น้ำจะแข็งตัวที่อุณหภูมิ 0 C (0 องศาเซลเซียส) และกลายเป็นไอที่อุณหภูมิ 100 C (100 องศาเซลเซียส) 

ในกระบวนการเปลี่ยนสถานะของสสาร บางครั้งจะมีการดึงเอาความร้อนที่อยู่รอบๆมาช่วยในการเปลี่ยนสถานะ ในทางกลับกัน การเปลี่ยนสถานะบางครั้ง ก็จะมีการคายความร้อนออกมารอบๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของสสารและรูปแบบการเปลี่ยนสถานะ


ความดัน คือแรงที่กระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ เช่น แรง 1 ปอนด์กระทำต่อพื้นที่ 1 ตารางนิ้ว ให้ความดัน 1 ปอนด์/ตารางนิ้ว 
ความดันแยกออกเป็นความดันสัมบูรณ์ ซึ่งเริ่มนับความดันจาก 0 คือจาก สูญญากาศ มักใช้ในสูตรทางวิศวกรรม ส่วนความดันเกจ เริ่มนับจากความดันบรรยากาศ ซึ่งเท่ากับศูนย์
Pabs = Pgauge+14.7

Patm(Atmospheric pressure, 1 atm) = 101.325 kpa = 14.7 psia = 1.0133 bar = 2116.2 Ibf/ft2

สุญญากาศ คือความดันที่ต่ำกว่าความดันบรรยากาศ ในเกจวัดความดันที่ใช้งานกับเครื่องปรับอากาศ ให้ความดันบรรยากาศเท่ากับ 0 และความดันสุญญากาศสัมบูรณ์ คือไม่มีความดันเลยจริงๆ มีความดันเทียบเท่ากับความสูงของปรอท 760 มิลลิเมตร


อุปกรณ์ที่จำเป็นในระบบการทำความเย็น

1. คอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่ในการดูดและอัดนำยาในสถานะที่เป็นแก๊ส โดยดูดแก๊สที่มีอุณหภูมิและความดันต่ำจากอีวามปอเรเตอร์ และอัดให้มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง จนถึงจุดที่แสพร้อมจะควบแน่นเป็นของเหลวเมื่อมีการถ่ายเทความร้อนออกจากน้ำยา

2. คอนเดนเซอร์ ทำหน้าที่ ให้สารทำความเย็นในสถานะแก๊สกลั่นตัวเป็นของเหลว ด้วยการระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นนั้น กล่าวคือ สารทำความเย็นในสถานะแก๊ส อุณหภูมิสูง ความดันสูง ซึ่งถูกส่งมาจากคอมเพรส เมื่อถูกระบายความร้อนแฝงออก จะกลั่ยตัวเป็นของเหลว แต่ยังคงมีความดัน และอุณหภูมิสูงอยู่

3. อุปกรณ์ควบคุมน้ำยา ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของสารทำความเย็นเหลว ที่ผ่านเข้ามาในอีวาปอเรเตอร์ ให้มีความดันต่ำลง การที่สารทำความเย็นมีความดันต่ำจะสามารถระเหยกลายเป็นไอได้ง่ายเมื่อได้รับความร้อนเพียงเล็กน้อย ที่นิยมใช้กันทั่วไปจะป็นแบบแคปทิ้ว หรือ เอกซ์แพนชั่นวาล์ว

4. อีวาปอเรเตอร์ ทำหน้าที่ ดูดความร้อนในห้อง ที่ต้องการทำความเย็น โดยที่สารทำความเย็น ที่เข้ามาในอีวาพอเรเตอร์จะระเหยกลายเป็นไอและดูดเอาความร้อนบริเวณรอบ ๆ อีวาปอเรเตอร์ ทำให้บริเวณรอบๆ อีวาพอเรเตอร์มีอุณหภูมิต่ำลง

5. รีซีฟเวอร์ หรือถังพักสารทำความเย็น เป็นอุปกรณ์ที่ต่อพวงขึ้นสำหรับระบบทำความเย็นขนาดใหญ่ ถ้าเป็นระบบทำความเย็นขนาดเล็กก็ไม่จำเป็น การที่ระบบทำความเย็นขนาดใหญ่จำเป็นต้องมี ก็เพื่อให้สารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นของเหลวมีปริมาณมากเพียงพอที่จะจ่ายให้ไประเหยที่อีวาปอเรเตอร์



ท่อนำสารความเย็นในระบบเครื่องทำความเย็น

ท่อซักชั่น (Suction line) เป็นท่อทางเดินสารทำความเย็นที่ต่ออยู่ระหว่างอีวาพอเรเตอร์กับทางดูดของคอมเพรสเซอร์ สารทำความเย็นในสถานะแก๊ส อุณหภูมิและความดันต่ำ จากอีวาพอเรเตอร์จะถูกดูดผ่านท่อซักชั่นเข้าไปยังคอมเพรเซอร์

ท่อดิสชาร์จ (Discharge line) เป็นท่อทางเดินสารทำความความเย็นที่ต่ออยู่ระหว่างท่อทางอัดของคอมเพรสเซอร์กับคอนเดนเซอร์ สารทำความเย็นในสถานะที่เป็นแก๊สซึ่งถูกคอมเพรสเซอร์อัดให้มีความดันและอุณหภูมิสูงขึ้นจะถูกส่งไปยังคอนเดนเซอร์โดยผ่านท่อนี้


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศ

          1.BTU (British Thermal Unit) คือ ขนาดทำความเย็นของ เครื่องปรับอากาศ มีหน่วยดังนี้ 1 ตันความเย็น เท่ากับ 12000 BTU/hr. เราควรเลือกขนาด BTU ให้เหมาะสมกับขนาด ของห้อง ที่จะทำการติดตั้ง โดยสามารถเลือก ได้จากตารางด้านขวานี้
การเลือกขนาดบีทียู
ประมาณการค่าไฟฟ้า
Btu/hขนาดห้อง (Square metre)
Nomal Roomห้องโดนแดด
9,00012-1411-13
12,00016-2014-18
18,00020-2821-27
21,00028-3525-32
24,00032-4028-35
26,00035-4430-39
30,00040-5035-45
36,00048-6042-54
40,00056-6552-60
48,00064-8056-72
60,00080-1,00070-90
Btu/hประมาณการค่าไฟ/เดือน
EGAT 5มอก.
9,000450530
12,000600700
18,0008501,000
21,0001,100-
24,0001,2001,390
26,0001,2501,450
30,0001,5501,800
36,0001,8802,125
40,0002,0502,450
48,000-3,000
60,000-3,600
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม ในการเืลือกซื้อ เครื่องปรับอากาศ
  1. จำนวนและขนาดของหน้าต่าง
  2. ทิศที่แดดส่องหรือทิศที่ตั้งของห้อง
  3. วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม
  4. จำนวนคนที่ใช้งานในห้อง
ทำไมต้องเลือก BTU ให้พอเหมาะ
BTU สูงไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตัดบ่อยเกินไป ทำให้ประสิทธิภาพ ในการ ทำงานลดน้อยลง ทำให้ความชื้นในห้องสูง ไม่สะบายตัว และที่สำคัญ ราคาแพง และสิ้นเปลืองพลังงาน
 BTU ต่ำไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดเวลา เพราะความเย็นห้องไม่ได้ตาม อุณหภูมิ ที่ตั้งไว้ สิ้นเปลืองพลังงาน และเครื่องปรับอากาศ เสียเร็ว
การคำนวณ BTU ของเครื่องปรับอากาศ
BTU = พื้นที่ห้อง (กว้าง*ยาว)*ตัวแปรตัวแปรความร้อน แบ่งได้ 2ระดับ
หากฝ้าเพดานสูงกว่า 2.5 เมตร มีจำนวนคนในห้องมาก หรือมีคอมพิวเตอร์ ควรบวกค่า BTU เพิ่มขึ้นอีก 5% จากค่าปกติ
700-800 สำหรับห้องนอน หรือห้องที่มีความร้อนน้อย (ห้องที่ไม่โดนแดด หรือโดนเล็กน้อย ฝ้าต่ำ หรือห้องที่ใช้แอร์ช่วงกลางคืน)
800-900 สำหรับห้องรับแขก หรือห้องที่มีความร้อนปานกลาง - มาก (ห้องที่โดนแดด อยู่ทิศตะวันตก หรือใช้แอร์ช่วงกลางวัน)
วิธีการคำนวณ
900-1000 สำหรับห้องทำงาน ห้องออกกำลังกาย หรือห้องที่มีความร้อนมาก หรือฝ้าสูง(ห้องที่โดนแดด อยู่ทิศตะวันตก อยู่ชั้นบนสุด หรือใช้แอร์ ช่วงกลางวัน)
ค่าไฟต่อเดือน = (จำนวนวัตต์(Watt) x จำนวนชั่วโมงที่ใช้จริง x ค่าไฟต่อหน่วย x อัตราการทำงาน 80% x 30วัน) / 1,0001000-1200 สำหรับร้านค้า ร้านอาหารที่เปิดปิดประตูบ่อย ร้านทำผม หรือสำนักงานที่มีคนอยู่จำนวนมาก
Ex. อัตราการกินไฟ (Watt) =1,040= (1,040x8x3x80%x30)/1,000
ค่าไฟต่อหน่วย = 3 บาท= 599 บาท/เดือน
ชั่วโมงใช้งานประมาณ = 8 ชั่วโมง
สำหรับ เครื่องปรับอากาศ ขนาด 12000 BTU ถ้าปรับอุณภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศา (นับจาก 25 องศา) เป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมง/วัน ช่วยชาติ ประหยัดไฟได้วันละ 2บาท/วัน 60บาท/เดือน คิดเป็น 720บาท/ปี ต่อครัวเรือน
EER คืออะไร
EER (Energy Efficiency Ratio) หรืออัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศ คือค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ของเครื่องปรับอากาศว่าดีหรือไม่ อย่างไร มีหน่วยเป็น (Btu/hr.)/W ดูจากหน่วยของค่า EER นี้แล้วก็คงเข้าใจได้โดยง่ายว่าค่า EER นั้นก็คืออัตราส่วนของความเย็นที่เครื่องปรับอากาศสามารถทำได้จริง (Output) กับกำลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศ นั้นต้องใช้ใน การทำความเย็น (Input) เครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER ยิ่งสูงก็แสดงว่า เครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นยิ่งมีประสิทธิภาพ ในการ ใช้พลังงานที่ดียิ่งขึ้น
หลักการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
หลักการทำความเย็นเครื่องปรับอากาศก่อนที่เราจะเรียนรู้กลไกการทำงานของ เครื่องปรับอากาศ เราควรทราบก่อนว่า ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบการทำการความเย็น (Refrigeration Cycle) มี
          1. คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ของแอร์ แอร์บ้าน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนสารทำ ความเย็นหรือน้ำยา (Refrigerant) ในระบบ โดยทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิ และความดันสูงขึ้น

          2. คอยล์ร้อน (Condenser) ทำหน้าที่ระบายความร้อนของสารทำความเย็น

          3. คอยล์เย็น (Evaporator) ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้องมาสู่สารทำความเย็น

          4. อุปกรณ์ลดความดัน (Throttling Device) ทำหน้าที่ลดความดันและอุณหภูมิของสาร ทำความเย็น โดยทั่วไปจะใช้เป็น แค็ปพิลลารี่ทิ้วบ์ (Capillary tube) หรือ เอ็กสแปนชั่นวาล์ว (Expansion Valve)

ระบบการทำความเย็นที่เรากำลังกล่าวถึงคือระบบอัดไอ (Vapor-Compression Cycle) ซึ่งมีหลักการทำงานง่ายๆคือ การทำให้สารทำความเย็น (น้ำยา) ไหลวนไปตามระบบ โดยผ่านส่วนประกอบหลักทั้ง 4 อย่างต่อเนื่องเป็น วัฏจักรการทำความเย็น (Refrigeration Cycle) โดยมีกระบวนการดังนี้
          1) เริ่มต้นโดยคอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นเพื่อเพิ่มความดันและอุณหภูมิของน้ำยา แล้วส่งต่อเข้าคอยล์ร้อน

          2) น้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์ร้อนโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อน ทำให้น้ำยาจะที่ออกจากคอยล์ร้อนมีอุณหภูมิลดลง (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งต่อให้อุปกรณ์ลดความดัน

          3) น้ำยาที่ไหลผ่านอุปกรณ์ลดความดันจะมีความดันและอุณหภูมิที่ต่ำมาก แล้วไหลเข้าสู่คอยล์เย็น (หรือที่นิยมเรียกกันว่า การฉีดน้ำยา)

          4) จากนั้นน้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์เย็นโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยดูดซับความร้อนจากภายในห้อง เพื่อทำให้อุณหภูมิห้อง ลดลง ซึ่งทำให้น้ำยาที่ออกจากคอยล์เย็นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งกลับเข้าคอมเพรสเซอร์เพื่อทำการหมุนเวียนน้ำยาต่อไป

หลังจากที่เรารู้การทำงานของวัฏจักรการทำความเย็นแล้วก็พอจะสรุปง่ายๆได้ดังนี้

          1) สารทำความเย็นหรือน้ำยา ทำหน้าที่เป็นตัวกลางดูดเอาความร้อนภายในห้อง (Indoor) ออกมานอกห้อง (Outdoor) จากนั้น น้ำยาจะถูกทำให้เย็นอีกครั้งแล้วส่งกลับเข้าห้องเพื่อดูดซับความร้อนอีก โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดการ ทำงานของคอมเพรสเซอร์

          2) คอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวในระบบที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนน้ำยาผ่านส่วนประกอบหลัก คือคอยล์ร้อน อุปกรณ์ ลดความดัน และคอยล์เย็น โดยจะเริ่มทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องสูงเกินอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ และจะหยุดทำงาน เมื่ออุณหภูมิ ภายในห้องต่ำกว่าอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ ดังนั้นคอมเพรสเซอร์จะเริ่ม และหยุดทำงานอยู่ตลอดเวลาเป็นระยะๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิ ห้องให้สม่ำเสมอตามที่เราต้องการ
ระบบ Inverter คืออะไร
คือ ระบบที่ควบคุมการปรับอากาศ ให้เป็นอย่างราบเรียบและคงที่ด้วยการปรับเปลี่ยนรอบการหมุนของคอมเพรสเซอร์ โดยการเปลี่ยความถึ่ ของกระแสไฟ ที่จ่าย ให้กับมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์แทนการทำงานแบบ ติด-ดับ-ติด-ดับ ในเครื่องปรับอากาศแบบเก่าทำให้ ระบบอินเวอร์เตอร์ สามารถควบคุมอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำมากขึ้นและที่สำคัญ คือ ประหยัดพลังงานกำลังงานที่ใช้ในการทำ ความร้อน หรือทำความเย็นจะถูกเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ อุณหภูมิของห้องคงที่กว่าเมื่อเทียบกับระบบเก่า เนื่องจากระบบนี้
จะไม่มีการหยุดการทำงานของคอมเพรสเซอร์ อุณหภูมิของห้องค่อนข้างคงที่ เนื่องจากระบบนี้ จะปรับกำลังในการทำความร้อน
หรือทำความเย็นโดยอัตโนมัติ อ้างอิงกับภาวะ( Workload) ที่มีอยู่ในห้องให้กำลังที่สูงกว่าการทำงานในช่วงเริ่มต้น ทำให้ห้องเย็นหรืออุ่นได้เร็วดังใจ ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพพลังงานมากอาจมีต้นทุนที่สูง ในตอนแรก (ราคา) แต่ผลตอบแทน
คือค่าไฟฟ้าที่ได้รับจะถูกกว่า สรุปก็คือผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพพลังงานสูงกว่าจะช่วยประหยัด เงินและพลังงานมากกว่า
ในระยะหลายเดือน หรือหลายปีข้างหน้า


วงจรไฟฟ้าเบื้องต้นของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ 1 เฟส


วงจรไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้มอเตอร์คอมเพรศเซอร์สตาร์ทออกตัว และรันต่ออย่างราบรื่นไปจนกว่าจะตัดไฟเพื่อหยุดการทำงาน 


ซึ่งในบทความฉบับนี้ ผู้เขียนขอกล่าวถึงวงจรไฟฟ้าที่ใช้ในการสตาร์ทออกตัวและรันมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศ ระบบไฟแบบ 1 เฟส หรือแบบเฟสเดียว เพราะวงจรไฟฟ้าของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบ 1 เฟส จะมีความยุ่งยากและซับซ้อนกว่าแบบ 3 เฟส 
และอีกประการ บ้านพักอาศัยทั่วไปใช้ไฟฟ้าระบบ 1 เฟส เครื่องปรับอากาศ แบบ 1 เฟส จึงเป็นแบบที่ใช้กันมากในบ้านพักอาศัยและอาคารสำนักงานทั่วไป



คอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศ ที่ใช้กันอยู่ในที่พักอาศัย เป็นคอมเพรสเซอร์แบบปิดสนิท ที่มีการนำเอาส่วนของตัวอัดสารทำความเย็น คือคอมเพรสเซอร์ และรส่วนต้นกำลังคือมอเตอร์ มารวมไว้ด้วยกันภายในชุดเดียวกัน มอเตอร์ที่ใช้ขับเคลื่อนคอมเพรสเซอร์ ในระบบไฟฟ้า 1 เฟส จะใช้เป็นมอเตอร์แบบสปลิทเฟส (Split-phase motor)



ภายในสปลิทเฟสมอเตอร์จะมีขดลวดพันอยู่ 2 ชุด คือ

1. ขดรันหรือขดเมน (Running Winding, Main Winding) พันด้วยลวดเส้นใหญ่ มีจำนวนรอบมาก ขณะที่คอมเพรสเซอร์ทำงาน ขดลวดรันนี้จะมีไฟฟ้าไหลผ่านอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มสตาร์ท หรือช่วงที่รันทำงานปกติ

2. ขดสตาร์ท (Starting winding) เป็นขดลวดชุดที่สองสำหรับเริ่มหมุน พันด้วยลวดเส้นเล็ก และจำนวนรอบน้อยกว่าขดรัน โดยทั่วไปจะออกแบบให้ขดลวดสตาร์ททำงานเต็มที่เพียงในช่วงที่มอเตอร์เริ่มออกตัวเท่านั้น แต่ภายหลังที่มอเตอร์หมุนออกตัวได้ปกติ ขดลวดสตาร์ทจะถูกตัดการทำงานลง เพราะถ้าปล่อยให้กระแสไฟจ่ายเข้าสู่ขดลวดสตาร์ทแบบเต็มที่ จะทำให้ขดลวดสตาร์ทร้อนจัดจนไหม้ได้ ซึ่งในมอเตอร์แบบสปลิทเฟสทั่วไป อุปกรณ์ในการตัดไฟที่จ่ายเข้าขดสตาร์ท จะใช้เป็น สวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง



สวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal switch) 

สวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง ทำหน้าที่ตัดวงจรสตาร์ท โดยโครงสร้างของสวิตช์แรงเหวี่ยง จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือส่วนที่อยู่กับที่ (Stationary part) จะประกอบติดอยู่กับฝาปิดหัวท้ายของมอเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนของหน้าสัมผัสหรือหน้าทองขาวอยู่ 2 อัน และส่วนที่หมุน (Rotating part) ซึ่งเป็นส่วนที่ติดอยู่กับเพลาของโรเตอร์ 
การทำงานของสวิทช์หนีศูนย์กลาง จะเริ่มทำงานเมื่อความเร็วรอบของมอเตอร์ได้ 75 เปอร์เซ็นต์ ของความเร็วรอบสูงสุด เพราะที่ความเร็วในระดับนี้ จะทำให้ส่วนที่ติดอยู่กับแกนเพลาของโรเตอร์มีแรงเหวียงหนีศูนย์กลางพอที่จะผลักดันส่วนที่ติดตั้งอยู่กับฝาของมอเตอร์ออกไป ทำให้หน้าสัมผัสแยกออกจากกันตัดวงจรขดสตาร์อย่างอัตโนมัติ

แต่ มอเตอร์สปลิทเฟสที่ใช้ในคอมเพรสเซอร์ ไม่สามารถตัดวงจรของขดลวดสตาร์ทด้วย สวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง ได้ จึงจำเป็นต้องมีการนำ รีเลย์หรือคาปาซิเตอร์ มาเป็นอุปกรณ์ช่วย ในการสตาร์ทและรันมอเตอร์



มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศนั้น ส่วนของมอเตอร์ไฟฟ้าที่บรรจุอยู่ภายในตัวถังของคอมเพรสเซอร์ จะใช้เป็นมอเตอร์แบบสปลิทเฟส อาจมีจำนวนรอบการทำงานสูงสุดได้ถึง 2,900 รอบ/นาที 
โดยการต่อใช้งาน จะมีหลักหรือขั้วต่อสายโผล่ออกมานอกตัวเรือนหรือตัวถังคอมเพรสเซอร์ จำนวน 3 ขั้ว 
แบ่งเป็น ขั้ว R, ขั้ว S และ ขั้ว C
ขั้ว R (Run) เป็นขั้วที่ต่อมาจากปลายสายด้านหนึ่งของขดลวดรัน
ขั้ว S (Start) เป็นขั้วที่ต่อมาจากปลายสายด้านหนึ่งของขดลวดสตาร์ท
ขั้ว C (Common) เป็นขั้ว ที่เป็นจุดรวมของปลายสายอีกด้านหนึ่ง ที่มาจากขดรันและขดสตาร์ท



การต่อวงจรไฟฟ้า เพื่อให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ เริ่มเดินและเดินต่อไปจนกว่าจะหยุดจ่ายไฟ มีการต่อวงจรใช้งานหลายหลายรูปแบบ ทั้งนี้ การต่อวงจรแต่ละแบบ จำเป็นต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับการใช้งานและขนาดกำลังของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์


รูปแบบการต่อวงจรไฟฟ้าของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ แบบต่างๆ

1.วงจรไฟฟ้าของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบ RSIR (Resistance Start Induction Run)
วงจรมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบ RSIR ทำงานโดยอาศัยรีเลย์ช่วยสตาร์ท ชนิดทำงานด้วยกระแส (Current Relay) ขณะเริ่มทำงาน รีเลย์จะต่อวงจรให้ทั้งขดลวดรันและขดลวดสตาร์ตครบวงจร สร้างแรงบิดมากพอให้คอมเพรสเซอร์เริ่มทำงานได้ แต่หลังจากนั้น เมื่อมอเตอร์หมุนออกตัวได้แล้ว รีเลย์จะตัดวงจรไฟฟ้าเพื่อไม่ให้มีกระแสไฟฟ้าจ่ายไปยังขดสตาร์ท เหลือขดลวดรันทำงานแต่เพียงขดเดียว 
วงจรสตาร์ทมอเตอร์แบบนี้ จะใช้ได้เฉพาะคอมเพรสเซอร์ขนาดเล็ก เช่น แบบที่ใช้ในตู้น้ำเย็น ตู้เย็น ซึ่งกำลังของมอเตอร์จะต้องมีขนาดไม่เกิน 1/3 แรงม้า เพราะมอเตอร์ระดับนี้จะต้องการกำลังทั้งช่วงสตาร์ตและช่วงทำงานปกติไม่มากนัก




2.วงจรไฟฟ้าของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบ CSIR (Capacitor Start Induction Run)
CSIR เป็นการต่อวงจรมอเตอร์คล้ายกับแบบ RSIR ต่างกันเพียงแค่เพิ่มคาปาซิเตอร์แบบสตาร์ทเข้ามา ต่ออนุกรมระหว่างหน้าสัมผัสของรีเลย์และขดลวดสตาร์ทของมอเตอร์ การต่อวงจรแบบนี้จึงให้แรงบิดในช่วงเริ่มต้นดีกว่าแบบ RSIR 
ส่วนช่วงหลังจากที่สตาร์ทออกตัวแล้ว การรันมอเตอร์เพื่อทำงานต่อไป ก็จะทำงานเหมือนกับแบบ RSIR 
วงจรนี้ จะใช้งานในเครื่องทำความเย็นขนาดเล็ก จนถึงขนาด 3/4 แรงม้า




3.วงจรไฟฟ้าของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบ PSC (Permanent Split Capacitor)

การต่อวงจรมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ แบบ PSC จะใช้คาปาซิเตอร์แบบรัน มาต่ออนุกรมโดยถาวรกับขดลวดสตาร์ท ของมอเตอร์ คาปาซิเตอร์และขดลวดสตาร์ต จะมีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้ทั้งช่วงสตาร์ต และช่วงทำงานปกติโดยไมมีรีเลย์มาตัดวงจร เพราะในช่วงแรกขดสตาร์ทจะได้รับกำลังไฟฟ้าอีกส่วนจากคาปาซิเตอร์ ทำให้มีแรงบิดเพิ่มในตอนสตาร์ท แต่หลังจากสตาร์ทออกตัวไปได้แล้ว ขดสตาร์ทจะถูกจำกัดกระแสไหลผ่าน โดยใช้ค่าความต้านทานในตัวเก็บประจุมาจำกัดกระแส 
ด้วยเพราะขณะทำงาน มีกระแสผ่านทั้งขดลวดรันและขดลวดสตาร์ต  ทำให้มีกำลังขับดีกว่าวงจรสตาร์ท แบบ RSIR และ CSIR ใช้ในเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศตั้งแต่ขนาดเล็ก จนถึง 5 แรงม้า 
โดยใช้ได้เฉพาะในระบบทำความเย็น ที่สามารถถ่ายเทความดันระหว่างด้านความดันสูงและความดันต่ำ (balance pressure) ได้ ในขณะคอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน เช่น ระบบที่ใช้ capillary tube (แคปทิ้ว) เหมือนในแอร์บ้านแบบที่ใช้กันนั่นเอง




4.วงจรไฟฟ้าของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบ CSR (Capacitor Start and Run)

CSR เป็นการต่อวงจรมอเตอร์คล้ายกับแบบ PSC ต่างกันเพียงการเพิ่มคาปาซิเตอร์แบบสตาร์ตต่ออนุกรมกับขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ โดยมีรีเลย์ช่วยสตาร์ทชนิดทำงานด้วยค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า (Potential relay) ใช้เป็นตัวตัดคาปาซิเตอร์สตาร์ทไม่ให้ทำงานหลังจากมอเตอร์เริ่มต้นทำงานและหมุนได้ความเร็วประมาณ 75 % ของความเร็วรอบปกติ เป็นมอเตอร์ที่ให้กำลังช่วงเริ่มต้นดีกว่า 
แต่ช่วงหลังจากสตาร์ทออกตัวเสร็จ ในการรันปกติจะทำงานเหมือนกับแบบ PSC จึงถูกนำไปใช้กับระบบที่ไม่สามารถ balance pressure ขณะคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานได้ เช่น ระบบที่ใช้ลิ้นลดความดันชนิด เทอร์โมเอ็กแพนชั่นวาล์ว (thermostatic expansion valve) 
และยังเหมาะสมกับการใช้งาน กับเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ เพราะช่วยให้การสตาร์ทออกตัวของมอเตอร์ทำได้ง่ายในเวลาที่สั้นกว่า ซึ่งวงจรชนิดนี้ นิยมนำมาใช้กับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ ที่มีกำลังแรงม้าตั้งแต่ 1 HP ขึ้นไป หรือในเครื่องปรับอากาศขนาด 20,000 BTU ขึ้นไป



      
วิธีการดูแล บำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
    
คอยล์เย็น หรือแฟนคอยล์ยูนิต เป็นตัวที่ติดตั้งอยู่ภายในห้องหรือภายในอาคาร มีส่วนประกอบย่อยที่จำเป็นต้องดูแลบำรุงรักษาและทำความสะอาดคือ

air

1. แผงกรองฝุ่น

          นเครื่องปรับอากาศทุกเครื่องจำเป็นต้องมีแผงกรองฝุ่นหรือฟิลเตอร์ เพราะฟิลเตอร์จะทำหน้าที่เป็นด่านแรกที่จะกรองอากาศโดยจะดักจับฝุ่นและสิ่งสกปรกอื่น ๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศไม่ให้ผ่านเข้าไปยังตัวแผงขดท่อคอยล์เย็น และเป่าเข้าสู่บรรยากาศภายในห้องได้อีก ฟิลเตอร์โดยทั่วไปมีใช้กันอยู่หลายชนิด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับขนาด และรูปแบบของเครื่อง เช่น เป็นแบบใยสังเคราะห์สีขาวหรือดำลักษณะคล้ายเส้นด้ายไนล่อนมีขอบเป็นโครงพลาสติก หรือเป็นแบบใยสังเคราะห์สีดำโครงขอบเป็นเหล็กเส้นลวด หรือเป็นแบบเส้นใยอลูมิเนียมถัก (ปัจจุบันเครื่องปรับอากาศบางรุ่น มีฟิลเตอร์กรองกลิ่นและควันอยู่ด้วย) เราต้องดูแลทำความสะอาดฟิลเตอร์อยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ฟิลเตอร์อุดตันไปด้วยฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่าง ๆ เพราะถ้าฟิลเตอร์อุดตันจะทำให้ลมไม่สามารถหมุนเวียนผ่านคอยล์เย็นได้ ซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศไม่เย็น มีน้ำแข็งเกาะที่ตัวคอยล์เย็น และอาจมีน้ำหยดจากตัวเครื่องได้ เมื่อน้ำแข็งที่เกาะอยู่ละลาย

          โดยที่ฟิลเตอร์มีจุดประสงค์เพื่อการกรองดักจับฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ดังนั้นฟิลเตอร์จึงมีโอกาสอุดตันจากสิ่งเหล่านี้ได้มาก การล้างทำความสะอาดจึงควรทำให้บ่อยครั้ง โดยดูความเหมาะสมจากสภาพแวดล้อมและการใช้งาน เช่น ถ้าติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้อง หรือในอาคารที่มีลักษณะการทำงานที่มีฝุ่นละอองมาก เช่น ห้องเตรียมผ้าสำหรับใช้ในการผ่าตัด ซึ่งห้องนี้จะมีฝุ่นใยผ้าเกิดขึ้นจำนวนมาก ดังนั้นการล้างฟิลเตอร์ควรต้องจะล้างทุกวัน หรืออย่างน้อยที่สุดทุกสัปดาห์ ส่วนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศในสถานที่ไม่ค่อยมีฝุ่นละอองมากนัก เช่น ห้องนอน ห้องพักผ่อน หรือห้องทำงานทั่วไป ก็ควรทำความสะอาดฟิลเตอร์ทุก ๆ หนึ่งเดือน หรือสามเดือน

          วิธีการล้างฟิลเตอร์ทำได้โดยใช้น้ำแรง ๆ ฉีดที่ด้านหลังของฟิลเตอร์ (ด้านที่ไม่ได้รับฝุ่น) ให้ฝุ่นและสิ่งสกปรกหลุดออก หรือถ้าฟิลเตอร์เป็นแบบเส้นใยอลูมิเนียมถัก แบบเส้นใยไนล่อน ก็อาจใช้แปรงที่มีขนนิ่ม เช่น แปรงสีฟัน หรือแปรงทาสีช่วยปัดฝุ่นด้วยก็ได้

2.แผงขดท่อคอยล์เย็น

          แผงขดท่อคอยล์เย็น คือตัวสร้างความเย็น มีรูปร่างเป็นเส้นท่อขดไปมาตามความยาวของเครื่อง และจะมีแผ่นครีบอลูมิเนียมบาง ๆ หุ้มขดท่อเหล่านั้นอยู่ แผงขดท่อจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อถอดหน้ากากส่งลม หรือหน้ากากรับลมกลับ ของเครื่องออก ที่แผงขดท่อนี้จะมีฝุ่นผงขนาดเล็กที่สามารถผ่านการกรองของฟิลเตอร์เข้ามาได้ เมื่อใช้งานไปนาน ๆ ฝุ่นเหล่านี้จะจับตัวกันหนาขึ้น และอากาศจะไม่สามารถผ่านได้ ซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศมีผลเช่นเดียวกันกับฟิลเตอร์ตัน จึงควรมีการล้างทำความสะอาดขดท่อและแผ่นอลูมิเนียม โดยในระยะเวลาในการล้างในรอบหนึ่งปี ควรมีการล้าง 1 ครั้ง

          วิธีล้างทำความสะอาดให้ใช้แปรงสีฟัน หรือแปรงทาสี ปัดเอาฝุ่น ที่เกาะยึดติดอยู่ให้ออกก่อนด้วยการลากแปรงลงตามแนวล่องของแผ่นครีบอลูมิเนียม แล้วจึงค่อยเอาน้ำฉีดหรือราด เพื่อให้ฝุ่นที่เหลือหลุดตามน้ำออกมา แต่เนื่องจากฝุ่นละอองที่จับอยู่เป็นเวลานาน จะมีความเหนียวมาก บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้น้ำยาเคมีช่วยในการขจัดคราบสกปรกออก น้ำยาเคมีที่ใช้ต้องเป็นแบบที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อคน และไม่ทำลายวัสดุที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ เช่น แผ่นอลูมิเนียม ท่อทองแดง หรือพลาสติก ในการเอาน้ำฉีด น้ำยาเคมีที่ใช้ต้องเป็นแบบที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ หรือเวลาราด ต้องระมัดระวังอย่าให้น้ำกระเด็นเปียกอุปกรณ์ไฟฟ้าของเครื่อง และควรระวังไม่ให้น้ำล้นถาดรองรับน้ำของเครื่อง

3. ใบพัดลมคอยล์เย็น

          ใบพัดลมคอยล์เย็น หรือ โบลเวอร์ เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเคลื่อนที่ของลม โดยได้กำลังมาจากมอเตอร์ไฟฟ้า ฝุ่นผงขนาดเล็กที่เล็ดลอดมาจากการดักจับของแผงกรองอากาศบางส่วน จะมาจับอยู่ที่ใบพัดลม ทำให้ร่องดักลมของใบพัดลมอุดตันไม่สามารถดักลมได้เต็มที่ การเกิดในลักษณะเช่นนี้จะทำให้ปริมาณลมเย็นที่ออกไปจากคอยล์เย็นลดลง

          จึงต้องเสียเวลาในการเดินเครื่องปรับอากาศนานขึ้น เพื่อที่จะให้ได้อุณหภูมิของห้องเท่าเดิม ซึ่งมีผลทำให้เสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น นอกจากฝุ่นที่เกาะตามใบพัดลมจะทำให้พัดลมส่งลมเย็นออกมาได้น้อยแล้ว อาจจะทำให้เกิดเสียงดังที่ตัวชุดคอยล์เย็นขึ้นได้ เนื่องจากฝุ่นที่จับอยู่จะไปเพิ่มน้ำหนักให้กับใบพัด ทำให้ใบพัดเสียการสมดุลในตัวเอง และเมื่อมอเตอร์หมุนจะเกิดการสั่นสะเทือนจากแรงเหวี่ยงและเกิดเสียงดังขึ้นได้ การล้างทำความสะอาดใบพัด ควรล้างทำไปพร้อมกับการล้างทำความสะอาดแผงคอยล์เย็น

4. ถาดรองรับน้ำทิ้งและท่อน้ำทิ้ง

          เป็นอุปกรณ์สำหรับรองรับน้ำที่เกิดจากการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำของไอน้ำในอากาศภายในห้อง น้ำที่เกิดขึ้นนี้จะไหลไปรวมกันที่ถาดรองรับน้ำและถูกระบายทิ้งโดยผ่านทางท่อน้ำทิ้ง ที่ถาดรองรับน้ำทิ้งนี้ถ้าไม่ได้รับการดูแลหรือทำความสะอาดเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดเมือกขาวใสคล้ายวุ้น น้ำที่ขังอยู่ในถาดรองรับน้ำทิ้งเป็นเวลานานนี้ เมื่อรวมกับฝุ่นละอองต่าง ๆ ที่เกาะอยู่ตามถาดรับ ก็อาจเป็นแหล่งอาหาร หรือเป็นแหล่งสะสม ของเชื้อโรค เชื้อรา และทำให้เชื้อโรคเชื้อราเหล่านี้เจริญเติบโตและแพร่กระจายสู่ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้พักอาศัยภายในห้องและภายในอาคารได้ การทำความสะอาดถาดน้ำทิ้งโดยการใช้แปรงที่มีขนแข็งขัดถู หรือการถอดออกมาล้าง ส่วนท่อน้ำทิ้งทำได้โดยการใช้เครื่องเป่าลม เป่าลมเข้าไปตามท่อน้ำ หรือใช้น้ำที่มีแรงดันเล็กน้อยฉีดเข้าไปภายในท่อ (ต้องแน่ใจว่าในระบบท่อไม่มีรอยรั่ว)

          วิธีการล้างทำความสะอาดถาดรองรับน้ำและท่อน้ำทิ้ง ควรทำไปพร้อมกับการทำความสะอาดแผงขดท่อคอยล์เย็นและใบพัดลม และควรตรวจดูแนวท่อน้ำทิ้งด้วยว่ามีลักษณะโค้งงอ (ตกท้องช้าง) หรือไม่ ถ้ามีต้องทำการแก้ไข เพราะท่อน้ำทิ้งช่วงที่โค้งงอตกท้องช้าง จะเป็นแหล่งที่รวมของน้ำและสิ่งสกปรก ซึ่งจะทำให้ท่อน้ำทิ้งอุดตัน และจะทำให้มีน้ำหยดจากบริเวณที่ท่อตกท้องช้างได้ เนื่องจากไอน้ำในอากาศกระทบท่อที่น้ำเย็นขังอยู่


air

5. ตัวโครงเครื่อง หน้ากากรับลม และหน้ากากจ่ายลม
          ทำความสะอาดโดยการปัดฝุ่น หรือใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดถู หรือถ้าสามารถถอดออกได้จะนำไปล้างน้ำก็ได้ คอยล์ร้อน หรือคอนเด็นซิ่งยูนิต เป็นตัวที่ติดตั้งอยู่ภายนอกห้อง หรือภายนอกอาคาร ภายในชุดคอยล์ร้อนจะมีส่วนประกอบหลักอยู่สามส่วน คือ คอมเพรสเซอร์ มอเตอร์พัดลมพร้อมใบพัดลม และแผงขดท่อกับครีบอลูมิเนียม ชุดคอยล์ร้อนจะมีหน้าที่นำเอาความร้อนจากภายในห้องมาระบายออกทิ้งไป ดังนั้นลมที่เป่าออกมาจากคอยล์ร้อนจึงเป็นลมร้อน

          การดูแลบำรุงรักษาคอยล์ร้อน จึงต้องทำให้เกิดการระบายความร้อนได้ดี โดยไม่มีวัตถุสิ่งของใด ๆ  มาปิดบังทิศทางของการระบายของลม และดูแลไม่ให้มีฝุ่นหรือสิ่งอื่น ๆ มาปิดบัง โดยเฉพาะที่แผงขดท่อและแผ่นอลูมิเนียมของคอยล์ร้อน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวขวางกั้นไม่ให้ลมเข้าไปรับความร้อนจากชุดคอยล์ร้อนได้ ระยะห่างระหว่างชุดคอยล์ร้อนกับสิ่งกีดขวางที่ยอมรับได้ จะถูกกำหนดโดยข้อกำหนดเฉพาะในการติดตั้งของเครื่องปรับอากาศแต่ละรุ่น ซึ่งรวมถึงการเผื่อพื้นที่ว่างเพื่อการดูแลซ่อมบำรุงด้วย ถ้าคอยล์ร้อนสกปรก หรือมีสิ่งของมาปิดบังช่องทางการระบายลมทำให้ความร้อนไม่สามารถระบายออกมาได้แล้ว จะทำให้เครื่องปรับอากาศไม่มีความเย็น หรือเย็นน้อย กินกระแสไฟฟ้ามากกว่าปกติ และอาจทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหายได้ การทำความสะอาดฝุ่นละอองที่เกาะอยู่ตามชุดคอยล์ร้อน สามารถใช้น้ำฉีดล้างได้ แต่ต้องระวังอย่าให้น้ำกระเด็นเข้าไปเปียกอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ ระยะเวลาในการล้างทำความสะอาดชุดคอยล์ร้อนควรล้างทุก 6 เดือน หรือทุก 12 เดือน

          การดูแลสภาพทั่วไปของเครื่องอื่น ๆ เช่น น๊อต สกรู ยางรองแท่นเครื่องต่าง ๆ อย่าให้หลุดหรือหลวม เพราะอาจทำให้เกิดเสียงดังจากการสั่นสะเทือนได้ ดูแลฉนวนที่ใช้ป้องกันความร้อนต่าง ๆ ถ้าพบว่าชำรุดฉีกขาดควรแก้ไขหรือซ่อมบำรุง เพราะถ้าฉนวนที่ใช้ป้องกันความร้อนชำรุด จะทำให้ไอน้ำในอากาศกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในบริเวณนั้น และจะทำความเสียหายให้กับฉนวนส่วนอื่น ๆ อีก หรือน้ำที่เกิดขึ้นนั้นจะหยดลงบนฝ้าเพดาน หรือตามผนังห้อง (ในกรณีที่ฉนวนหุ้มท่อสารทำความเย็น หรือท่อส่งลมเย็น หรือท่อน้ำเย็น ชำรุด) ทำให้เกิดรอยคราบสกปรก และเกิดเชื้อราขึ้นได้

ข้อแนะนำ

          เพื่อการใช้งาน การดูแลบำรุงรักษา และการตรวจซ่อมเครื่องปรับอากาศให้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพและรูปแบบของเครื่องปรับอากาศแต่ละเครื่อง ควรศึกษาทำความเข้าใจเอกสารคู่มือที่ให้มาพร้อมกับเครื่องปรับอากาศ และปฏิบัติตามคำแนะนำให้ถูกต้อง

คำเตือน

          ก่อนดำเนินการตรวจสอบ ดูแล บำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่มีไฟฟ้าป้อนอยู่ ต้องปิดสวิตซ์ หรือเบรคเกอร์ ตัดวงจรของระบบไฟฟ้าออกก่อนทุกครั้ง

ความร้อน และอุณหภูมิ 

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4

องศาโรเมอร์

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C




หน่วยวัดและมาตรวัดอุณหภูมิ (Temperature Unit and Temperature Scales)

https://www.pballtechno.com/article/15/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4-temperature-unit-and-temperature-scales


BTU (British Thermal Unit) / หน่วยความร้อนระบบอังกฤษ (บีทียู)
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/6114/btu-british-thermal-unit-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9-%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B9

เครื่องปรับอากาศ

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8
ส่วนประกอบของตู้เย็น
http://www.atom.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/howstuff2/refrigerator/refrigeratorthai2.htm



แอร์ทำงานอย่างไร หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

http://www.chiangmaiaircare.com/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8/

ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ30 มกราคม 2565 เวลา 09:34

    Betway Casino Site - ₹2,000 Welcome Bonus and 200 Free Spins
    Betway kadangpintar Casino is part of a group of online casino operators. The 카지노 company is one of several casino operators that was founded in งานออนไลน์ 2001.

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระบวณการทางไซโครเมตริกและph chart